เมนู

อรรถกถาอนิจจวรรคที่ 5


ในอนิจจวรรคที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ญาตปริญญามาในบทว่า ปริญฺเญยฺยํ. แต่ปริญญา 2 นอกนี้
พึงทราบว่าท่านก็ถือเอาด้วยเหมือนกัน. เฉพาะตีรณปริญญาและปหาน-
ปริญญา มาทั้งในบท ปริญฺเญยฺย ทั้งในบท ปหาตพฺพ. แต่ปริญญาทั้ง 2
นอกนี้ พึงทราบว่าท่านถือเอาด้วยเหมือนกัน. บทว่า สจฺฉิกาตพฺพํ
แปลว่า พึงกระทำให้ประจักษ์. แม้ในบทว่า อภิญฺเญยฺยา ปริญฺเญยฺยํ นี้
ถึงท่านไม่ได้กล่าวถึงปหานปริญญาก็จริง แต่พึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วย
เหมือนกัน. บทว่า อุปทฺทุตํ ได้แก่ด้วยอรรถมากมาย. บทว่า อุปสฺสฏฺฐํ
ได้แก่ด้วยอรรถว่าถูกกระทบ. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล
จบ อรรถกถาอนิจจวรรคที่ 5

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อนิจจสูตร 2. ทุกขสูตร 3. อันตตสูตร 4. อภิญเญยย-
สูตร 5. ปริญเญยยสูตร 6. ปหาตัพพสูตร 7. สัจฉิกาตัพพสูตร
8. อภิญญาปริญเญยยสูตร 9. อุปทุตสูตร 10. อุปัสสัฏฐสูตร
จบ ปฐมปัณณาสก์
จบ สฬายตนวรรค


รวมวรรคที่มีในปัณณาสก์นี้ คือ


1. สุทธวรรค 2. ยมกวรรค 3. สัพพวรรค 4. ชาติธรรม-
วรรค 5. อนิจจวรรค.

ทุติยปัณณาสก์

อวิชชาวรรคที่ 1



1. อวิชชาสูตร1


ว่าด้วยการละอวิชชาได้วิชชาจึงจะเกิด


[ 56 ] กรุงสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิด บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่
ซึ่งรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-
สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งหู จมูก
ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิด ดูก่อนภิกษุ
บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิด.
จบ อวิชชาสูตรที่ 1
1. อรรถกถาอวิชชาวรรคที่ 1 แก้รวมกันไว้ท้ายวรรค.